อาจารย์ผู้สอนหลัก
นางรัชนี มณีจันทร์
ผอ.สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 7
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 หรือ “กฎหมายคุ้มครองแรงงาน” เป็นกฎหมายที่มีแนวคิดเกี่ยวกับการกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสภาพการจ้าง และสภาพการทำงาน ระหว่างนายจ้าง กับลูกจ้าง เช่น การกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ วันเวลาทำงานปกติ วันหยุด วันลา ค่าชดเชย ฯลฯ รวมทั้งพนักงานตรวจแรงงาน และข้อพึงปฏิบัติต่อกันของนายจ้าง และลูกจ้าง
จำนวนชั่วโมงเรียนรู้ทั้งหมด 6 ชั่วโมงเรียนรู้ (จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ 4 ชั่วโมง 18 นาที)
1. สามารถอธิบายเกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
2. สามารถอธิบายเกี่ยวกับสิทธิหน้าที่ของนายจ้าง ลูกจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
3. สามารถอธิบายลักษณะปัญหาด้านแรงงานที่เกิดขึ้นตามสถานการณ์ปัจจุบัน และวิเคราะห์ถึงวิธีการเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น
4. สามารถนำหลักพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ไปประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ หรือแก้ไขปัญหาด้านแรงงานที่เกิดขึ้นในสถานประกอบกิจการได้อย่างถูกต้อง
นายจ้าง ลูกจ้าง และผู้สนใจทั่วไป
แบบทดสอบก่อนเรียน Pre Test ไม่เก็บคะแนน
แบบทดสอบระหว่างเรียนทุกบท Unit Test เก็บคะแนน 60%
แบบทดสอบประมวลความรู้ Final Exam เก็บคะแนน 40%
ผู้เรียนมีคะแนนรวมทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 70% ถือว่าผ่านเกณฑ์เพื่อรับประกาศนียบัตรในระบบได้
นางรัชนี มณีจันทร์
ผอ.สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 7
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน
นายเชิดศักดิ์ กำปั่นทอง
ผอ.กลุ่มงานที่ปรึกษากฎหมายนิติกรรมและสัญญา
กองนิติการ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน
นางสาวเจริญรัตน์ แท่นทอง
นักวิชาการแรงงานชำนาญการ
สำนักพัฒนามาตรฐานแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กระทรวงแรงงาน
นางสาวเหมือนมาส สังข์อ่อน
นักวิชาการแรงงานปฏิบัติการ
สำนักพัฒนามาตรฐานแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กระทรวงแรงงาน
นางสาวศรสวรรค์ บุญรัตน์
เจ้าพนักงานแรงงาน
สำนักพัฒนามาตรฐานแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กระทรวงแรงงาน
e-Mail : [email protected] เบอร์โทรศัพท์ : 083 6035840
“สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thai MOOC (thaimooc.org)
และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ Creative Commons ด้วยเงื่อนไข CC BY NC SA”