Skip to main content

การเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย | Enhancing early childhood’s development through play

SRU

คำอธิบายรายวิชา

การเล่นเป็นธรรมชาติของเด็กทุกคนและมีความสำคัญต่อพัฒนาการทุกด้านของเด็ก แม้กระทั่งเด็กป่วยความต้องการเล่นก็ยังคงมีอยู่ เด็กปฐมวัยเป็นวัยของการเสริมสร้างพัฒนาการด้านต่าง ๆ ผู้ดูแลเด็กจึงควรมีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการแก่เด็กปฐมวัย ดังนั้นเนื้อหาในรายวิชานี้ จึงเน้นให้ผู้เรียนได้ทราบถึงความหมาย ความสำคัญ ประโยชน์ ของการเล่น แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการเล่น พัฒนาการเด็กปฐมวัย ลักษณะการเล่นของเด็กปฐมวัย หลักการเลือกของเล่น การจัดกิจกรรมการเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย แนวทางการประเมินพัฒนาการเด็กโดยใช้คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) แนวคิดเกี่ยวกับการเล่นในเด็กป่วย ประเภทของการเล่นในเด็กป่วย หลักการจัดการเล่นในเด็กป่วย และนำแนวทางการจัดกิจกรรมการเล่นไปประยุกต์ใช้เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยที่สุขภาพดี และเด็กปฐมวัยในภาวะเจ็บป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล

จำนวนชั่วโมงเรียนรู้

จำนวนชั่วโมงเรียนรู้ทั้งหมด XX ชั่วโมงเรียนรู้ (จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ X ชั่วโมง XX นาที)

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

1. ผู้เรียนสามารถบอกความหมาย ความสำคัญ และประโยชน์ของการเล่นได้

2. ผู้เรียนสามารถอธิบายแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเล่น พัฒนาการเด็กปฐมวัย และการเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยได้

3. ผู้เรียนสามารถอธิบายลักษณะการเล่น หลักการจัดการเล่น การเลือกของเล่นและการจัดกิจกรรมการเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยได้

4. ผู้เรียนสามารถบอกความสำคัญและแนวทางการปฏิบัติในการประเมินพัฒนาการเด็กโดยใช้คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) การเตรียมความพร้อมก่อนการประเมิน การสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้ประเมินกับเด็กและพ่อแม่ ผู้ปกครอง การสรุปผลการประเมิน และให้คำแนะนำแก่พ่อแม่ ผู้ปกครองได้

5. ผู้เรียนสามารถบอกแนวคิดเกี่ยวกับการเล่นในเด็กป่วย ประเภทของการเล่นในเด็กป่วย หลักการจัดการเล่นในเด็กป่วย และการจัดกิจกรรมการเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยในภาวะเจ็บป่วยและเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลได้

คุณสมบัติผู้เรียน

นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ทุกเพศ ทุกวัย ที่สนใจสามารถเรียนได้

เกณฑ์การวัดผล

เข้าทำแบบทดสอบก่อนเรียน โดยไม่เก็บคะแนน
เข้าทำแบบฝึกหัด Quiz
เข้าทำแบบทดสอบระหว่างเรียนทุกบท (Unit test) 60%
เข้าทำแบบทดสอบประมวลความรู้ (Final Exam) 40%
เข้าทำการสะท้อนคิดประสบการณ์การเรียนรู้ (ผ่าน Padlet) โดยไม่เก็บคะแนน
ผู้เรียนมีคะแนนรวมทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 70% ถือว่าผ่านเกณฑ์เพื่อรับประกาศนียบัตรในระบบได้

ทีมผู้รับผิดชอบรายวิชา MOOC

Course Staff Image #1

อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาหลัก

อาจารย์ ดร.นภมาศ ศรีขวัญ
สาขาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

Course Staff Image #2

อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาร่วม

รศ.ดร.ชื่อ..... นามสกุล....
ภาควิชา........... คณะ............... มหาวิทยาลัย..............
ตำแหน่งอื่น ๆ ผู้อำนวยการ................ สถาบัน...................

ช่องทางติดต่อทีมผู้สอน

e-Mail...................เบอร์......................

cc

Creative commons สัญญาอนุญาตสิทธิ์

“สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thai MOOC (thaimooc.org)
และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ Creative Commons ด้วยเงื่อนไข CC BY NC SA”

Enroll